วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

รู้ข้อมูลก่อนเริ่มมองหาธุรกิจพิมพ์เสื้อผ้า


ถ้ากำลังเริ่มมองหาธุรกิจพิมพ์เสื้อผ้าของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนเรื่องผ้ายืดที่ใช้พิมพ์เสื้อผ้ามันมีแบบไหนบ้าง ต้นทุนเป็นอย่างไรและมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร


1.สกรีนระบบบล็อกสกรีน (Silk Screen)
คือการทำให้บล็อกสกรีนตามแบบ แล้วนำสีมาพิมพ์ผ่านลวดลายลงบนเสื้อก็จะได้เสื้อ การสกรีนแบบนี้สามารถใช้กับเนื้อผ้าได้เกือบทุกชนิดเช่น cotton100%, CVC, TC, TK, จูติ
ข้อดีของกระบวนการนี้คือหาใช้บริการง่ายแทบจะมีอยู่ทุกที่ พิมพ์จำนวนเยอะราคาถูก ราคาไม่ตายตัวขึ้นอยู่จำนวนยอดงานหรือลดลงกว่านี้ขึ้นกับการต่อรอง
ข้อเสียของกระบวนการนี้คือ ความละเอียดของงาน เพราะว่าการพิมพ์ผ่านบล็อกสกรีนนั้นขึ้นอยู่กับเทคนิคของช่าง อาจทำให้ภาพไม่คม และไม่สามารถสกรีนตัวหนังสือเล็กๆได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะข้อจำกัดของสีและตาข่ายบล็อกสกรีน ต้องวางเสื้อบนโต๊ะสกรีนที่ออกแบบตามชนิดของการใช้งาน

2.สกรีนระบบรีดร้อน (Heat Transfer)
วิธีที่นิยมอีกวิธี เรียกว่า Sublimation กระบวนการสกรีนเริ่มโดยการสั่งงานพิมพ์ลงบนกระดาษ Sublimation จากนั้นนำกระดาษที่พิมพ์ลายสกรีนไปวางบนเสื้อแล้วรีดด้วยเครื่องรีดร้อน เสื้อที่นำมาสกรีนด้วยวิธีนี้จึงควรเป็น เนื้อผ้าทำจาก Polyester เช่น TK, TC หรือมีส่วนผสมของ Cottonไม่เกิน 30% หากสกรีนลงบนเนื้อผ้า Cotton100% เมื่อนำไปซักลายสกรีนจะค่อยๆหลุดออกจากเสื้อ ผ้าที่นำมารีดควรจะเป็นผ้าสีขาวหรือสีสว่างๆ หากนำผ้าสีเข้มมากๆมารีดด้วยวิธีการซับลิเมชั่น สีจะถูกทรานส์เฟอร์ไปสีของเนื้อผ้าจะบังสีของลายพิมพ์จนหมด
การพิมพ์เสื้อด้วยเทคนิคซับลิเมชั่น มักนิยมพิมพ์ลงบนผ้าเป็นชิ้นก่อน แล้วค่อยนำมาตัดเย็บหรือพิมพ์ลงเสื้อสำเร็จรูป
ข้อดีของกระบวนการนี้คือ สกรีนได้หลายสี ต้นทุนค่อนข้างต่ำ ผลิตได้ชิ้นงานที่หลากหลาย
3.สกรีนโดยตรง DTG (Direct To Garment)
คือกระบวนใหม่ที่ใช้หลักการนำหมึก Pigment มาสกรีนลงบนเนื้อผ้าโดยตรงด้วยเครื่องพิมพ์ผ้าโดยเฉพาะ หลักการการทำงานนำเสื้อไปวางบนแท่นพิมพ์แล้วสั่งพิมพ์ จากนั้นนำมาอบสีให้แห้ง
ข้อดีของกระบกวนการนี้คือสกรีนได้หลายสี หมึกซึมไปในเส้นใยผ้าเหมาะกับการสกรีนลงบนผ้าเนื้อทุกชนิด ไม่มีปัญหาสำหรับผ้าCotton100% สามารถพิมพ์ผ้าสีเข้มหรือสีอ่อนก็ได้ โดยกระบวนการพิมพ์จะให้ ภาพสวย คมชัดลายละเอียดสูงถึง 1200dpi (Silk Screen ปกติ 120 dpi) เป็นกระบวนการสกรีนเสื้อที่สกรีนภาพออกมาได้ดีที่สุด ข้อจำกัดของการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ DTG คือ พื้นที่พิมพ์อาจจะจำกัดพื้นที่แค่ไม่เกิน 15-20 นิ้ว จึงเหมาะกับการพิมพ์เสื้อสำเร็จรูป
ข้อเสียของกระบวนการนี้ คือเครื่องพิมพ์มีราคาแพงสูงมาก และต้องการการบำรุงรักษามาก ต้นทุนหมึกสูงต้องใช้ทักษะในการทำงานสูง หากผู้ผลิตไม่มีความเข้าใจในการเตรียมงานจะทำให้งานพิมพ์ออกมาไม่ดีได้

4. Flex
เรียกเต็มว่า Flex Transfer หากเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ ให้ลองนึกถึงสติกเกอร์ ลักษณะคล้ายๆ กันการใช้งานจะต้องนำไปสร้างลายโดยผ่านเครื่องตัด Flex (เครื่องตัดสติ๊กเกอร์) ให้ได้ลวดลายตามแบบที่ต้องการ แล้วนำมารีดด้วยเครื่องรีดร้อนลงบนเสื้อผ้าสิ่งทอที่เราต้องการ สามารถใช้กับเนื้อผ้าอะไรก็ได้เช่น cotton100%, CVC, TC, TK, จูติ
ขั้นตอนการ Flex Transfer
- นำชิ้นงานที่ออกแบบเป็นลายเส้น ข้อความ รูปภาพออกแบบด้วยโปรแกรม Illustrator หรือ Photoshop
- ใช้เครื่องตัดสติกเกอร์เป็นผู้ผลิตชิ้นงานที่ออกแบบ โดยตัดตามลายเส้น หรือข้อความตามที่เราต้องการ
- นำชิ้นงานที่ผลิตออกมา และรีดลงบนเสื้อผ้าต่างๆ ด้วยเครื่อง Heat Transfer หรือ เครื่องรีดความร้อน
- เมื่อรีดเสร็จแล้วทิ้งไว้สักครู่ ให้ชิ้นงานเย็นลง แล้วลอกฟิมล์พลาสติกออกจากชิ้นงานนั้น
- เป็นอันจบขั้นตอนในการรีด flex บนลงเนื้อผ้า
สำหรับผ้าที่ใช้ในกระบวนการพิมพ์\ทาง AP Fabric มีทุกเนื้อผ้าหลาหหลายสีเหมาะกับงานที่ใช้พิมพ์ผ้าทุกประเภทในราคาไม่แพงถ้าท่านกำลังมองหาธุรกิจเสื้อผ้าเป็นของตัวเอง งานขายปลีก-ส่ง ออเดอร์เล็กหรือใหญ่

โทรมาหาเรา AP Fabric ผ้ายืดนานาชนิดยินดีบริการ
Call: 092-4239292
Facebook: https://www.facebook.com/APfabric.Printing
Line: @wjq4251g

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น